จากที่เรารู้ข้อดีของ GIT แล้ว ก็เข้ามาสู่การทดลองการใช้งานในการเริ่มเขียนโปรเจค
GIT สามารถประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
เริ่มต้นการใช้งาน GIT ทางผู้เขียนไอเมคโปรเจคแนะนำ Github Desktop มาศึกษาก่อน
เนื่องจากติดตั้งง่าย ใช้งานเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
(แม้ว่าการใช้งาน GIT เบื่องต้นควรจะเรียนรู้จากการใช้ Command Line
แต่ถือว่าเป็นขั้นสูงที่จะดึงความสามารถของโปรแกรม GIT ได้เต็มประสิทธิภาพ)
1. เริ่มต้นให้ทำงานดาวน์โหลดโปรแกรม Github Desktop มาติดตั้งก่อน ที่
https://desktop.github.com/
2. เมื่อทำการติดตั้งแล้วเข้าสู่การใช้ Git จะต้องบันทึกชื่อ และอีเมล์ ในการใช้งาน
3. เมื่อทำการลงทะเบียนชื่อตนเองเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีเมนูหลักดังนี้
Clone a repository … คือการคัดลอกที่เก็บไฟล์จากอินเตอร์เน็ต
Create a new repository … สร้างที่เก็บไฟล์ใหม่ในเครื่อง
Add an exisiting repository … เปิดที่เก็บไฟล์ในโปรแกรม Github Desktop
ในที่นี้เราจะต้องการสร้างที่เก็บไฟล์ ให้เลือก Create a new repository.
4. ทำการใส่ชื่อของที่เก็บ repository
5. เมื่อไปดูในแฟมของเราจะพบกับไฟล์ของ git ที่เตรียมไว้ ให้นำไฟล์ของคุณไปวางได้ หรือจะสร้างไฟล์ใหม่ลงไปเพื่อจัดเก็บก็ได้
6. เมื่อกลับมาดูในโปรแกรมเราจะพบว่ามีไฟล์ขึ้นเป็น + หมายถึงไฟล์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่
ในตอนนี้เรายังไม่ได้บันทึกข้อมูลลง Repository จนกว่าเราจะทำการ Commit
ก่อนทำการ Commit ลง Git เราจะต้องใส่หัวข้อการบันทึกก่อนทุกครั้ง เพื่อจดบันทึกแก้ไข
(สำหรับรายละเอียด ไม่จำเป็นต้องใส่) จากนั้นกด Commit ด่านล่าง
7. รายละเอียดการบันทึกข้อมูลของคุณจะอยู่ใน History
8. เมื่อเวลาคุณแก้ไขงาน ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม เมื่อมาเปิดบนโปรแกรม Git ก็จะรับรู้ถึงส่วนที่แก้ไข
และสามารถบันทึก Commit เข้า Repository ได้
9. เมื่อเวลาทำโปรเจคแล้วเกิดการผิดพลาด จำเป็นต้องนำโค้ดเก่ากลับมา
คุณก็สามารถย้อนกลับได้ตามที่คุณ Commit ไว้ใน Repository
ถ้าต้องการย้อนคืนทีละไฟล์ ก็ให้ คลิกขวา เลือกเมนู Discard Changes…
ถ้าต้องการย้อนคืนการ Commit ในครั้งที่แล้วมา ให้เข้าไปที่ History
อย่างไรก็ตามนี่เป็นการบันทึกลง Git เฉพาะในเครื่องเท่านั้น
หากต้องการบันทึกออนไลน์ต้องอ่านกันในบทความหน้าจ้า
GIT คือ โปรแกรมประเภท Version Control ที่ใช้ในการพัฒนาเขียนโปรแกรม Software ช่วยเก็บรักษาไฟล์
สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของไฟล์ได้ รวมทั้งสามารถย้อนกลับไปในช่วงที่เคยแก้ไขไปก่อนหน้าได้ด้วย
เหมาะอย่างยิ่งในการเก็บรักษาไฟล์โค้ด (Source Code) อย่างดี
โดยอาจจะประยุกต์นำไปใช้กับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของไฟล์ได้ด้วย
ประโยชน์จากการใช้ GIT
- บันทึกการเปลี่ยนแปลงของโค้ดเรา เช่นแก้ไฟล์ไหนไป อย่างไร ตรงไหนบ้าง
จะมีข้อมูลบันทึกไว้หมด โดยที่เราจะต้องทำการ Commit เพื่อบันทึกเป็นรุ่นๆไป
- ช่วยการทำงานเป็นทีมสะดวกขึ้น เช่น หากมีเพื่อนแก้ไขส่วนใดเราก็ทราบได้
- จัดการสิทธิ์การแก้ไขไฟล์ ในทีมของเพื่อนเราได้
- กู้ข้อมูลคืนหากเกิดสิ่งผิดพลาดขึ้นมาได้
- สามารถโอนถ่ายย้ายไฟล์ข้ามเครื่อง เพื่อนำไปทำงานต่อ
- บันทึกข้อมูลเข้าเซิฟเวอร์ศูนย์กลางได้
- จัดการการแยกรุ่น Version ของแต่ละรุ่นออกได้
- ใช้งานง่ายผ่านคำสั่งที่พิมพ์ไม่เยอะ หรือ ใช้งานผ่านโปรแกรม GUI ก็ได้
แน่นอนว่าข้อดีเยอะแบบนี้แล้ว ลองนำมาใช้ช่วยเขียนโปรแกรมดูสิครับ ทุกครั้งที่คุณเริ่มโปรเจคใหม่
สำหรับผู้ใช้บน Windows แนะนำให้เล่นกับ GITHUB Desktop
ก่อนที่จะไปเล่นแบบ Command Line เพราะใช้งานง่ายมาก
แต่เมื่อคุณพอเข้าใจวิธีการคร่าวๆแล้วการใช้ Command Line
จะทำให้คุณใช้งาน GIT ได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เริ่มการใช้งาน GIT เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงโปรเจคของเรา
ในการทำโครงงานหรือโปรเจคนั้น หากเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน
จะทำให้งานลด
ARDUINO
ARDUINO (อาดูอิโน่, อาดูโน่, อาดุยโน) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ใช้ชิพตระกูล AVR
โดยผู้พัฒนาบอร์ดเป็น Open Source คือ มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software
นำโดย Massimo Banzi และ David Cuartielles ก็ได้สร้างโปรเจคที่เรียกว่า Arduino project
ขึ้นมานั่นเอง โดยที่ Arduino project ได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆของ
Wiring project ซึ่งนั่นทำให้ราคาของบอร์ดถูกลง และเหมาะสมกับนักศึกษามากขึ้น
ดังนั้น Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา
นักศึกษาและผู้ที่อยากศึกษาอีเล็กทรอนิกส์ และนำไปใช้งานได้จริง
สามารถทำงานกับระบบ IoT เป็นโปรเจคและโครงงานได้
ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด
หรือเขียนโปรแกรมเพิ่มต่อได้อีกด้วย
จุดเด่น
- เรียนรู้ง่าย ในการเชื่อมต่อวงจร
- เขียนโปรแกรมง่าย สำหรับงานที่ไม่ซับซ้อน เพราะมีโค้ดหลายหลากให้เลือกใช้
- เขียนเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเซนเซอร์ ได้หลากหลาย
- ราคาถูก
ข้อเสีย
- ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการอัพเดทโปรแกรมเข้าไปที่ตัวคอนโทรเลอร์
- ไม่มีระบบปฏิบัติการ
- เก็บข้อมูลในตัวได้เพียงเล็กน้อย < 1MB
- ต้องต่อโมดูลเพิ่มหากต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและ IoT
Raspberry Pi (ราสเบอร์รี่พาย)
Raspberry Pi ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีขนาดเพียงเท่ากับบัตรเครดิต
ใกล้เคียงกับ Arduino มีราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปปกติ
เกิดขึ้นในปี 2549 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
โดยผู้สร้างทั้งสี่คนคือ อีเบน อัพตั้น, ร๊อบ มูลลิ่นส์, แจ๊ค แลง และ อลัน มายครอฟท์
มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ ราสเบอร์รี่พายเป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยาที่ใครๆก็ครอบครองได้
สามารถศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้ทันที
การที่ราสเบอร์รี่พายเป็นบอร์ดวงจรรวมที่เปลือยเปล่า ทำให้เด็ก ๆ
ได้เห็นชิ้นส่วนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มาในกล่องได้มากขึ้น
โดยปกติราคาไม่เกิน 2000 บาท เท่านั้น สามารถทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง
เราสามารถต่อ ราสเบอร์รี่พายนี้เข้ากับจอคอมพิวเตอร์หรือจอทีวีที่รองรับ HDMI
หากไม่มีสามารถต่อสัญญาณวิดีโอปกติ (เส้นสีเหลือง) ได้เช่นกัน โดยความละเอียดอาจจะต่ำกว่า
นอกจากต่อจอแสดงผลแล้ว Raspberry Pi สามารถต่ออุปกรณ์รับข้อมูล เช่น
เมาส์และคีย์บอร์ดผ่าน USB port ได้ปกติ
ข้อดี
- ติดตั้งระบบปฏิบัติการได้หลายหลาก
- สามารถใช้เป็นคอมพิวเตอร์ได้ ต่อจอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ใช้งานได้ทันที
- สามารถต่ออุปกรณ์ผ่าน USB ได้หลายหลาก
- เชื่อมต่อ Internet และเป็นอุปกรณ์ IoT ได้
- สามารถเก็บข้อมูลได้ผ่านทาง Memory Card
ข้อเสีย
- ไม่ถือว่าเร็วนักเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์
- ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมในการใช้งาน
- มีข้อจำกัดอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเซนเซอร์
- ราคาไม่ถูก
สรุปโดยรวม
เลือก Arduino
- ใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์โมดูลหลายหลาก
- มีการใช้งานเซนเซอร์แบบอานาล็อก (analog)
- ไม่ต้องการมีแก้ไขโปรแกรม แค่ให้ใช้งานตามที่ตั้งไว้เท่านั้น
- โปรเจคงานไม่ใหญ่มาก
- ไม่มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ตัวอย่างโครงงานโปรเจค เช่น ระบบที่จอดรถ, ระบบดูแลตู้ปลา
เลือก Raspberry Pi
- ต้องการคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
- ต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- ต้องการแก้ไขและทดสอบโปรแกรมได้ตลอดเวลา
- ต้องการต่อจอภาพ
- มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
- มีการประมวลผลภาพจากกล้อง
ตัวอย่างโครงงานโปรเจค เช่น ระบบกล้องความปลอดภัยและแจ้งเตือน
บทความ,
อาดูโน่
Tags: arduino, esp32, raspberry pi, ทำโปรเจค, ทำโปรเจคราสเบอรี่ไพ, ทำโปรเจคอาดูโน่, ราสเบอรี่ไพ, อาดูโน่, อีเล็กทรอนิกส์, โครงงาน
ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อยอด
สร้างชิ้นงานเชื่อมต่อเข้ากับ Internet of Things โดยมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Internet ทั้งแบบมีสาย LAN และแบบไร้สาย (Wireless LAN หรือ Wi-Fi) ได้
แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้
บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับ Internet of Things บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์กลุ่มนี้
ผู้ผลิตออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เราสามารถพัฒนาโปรแกรมลงในไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด
ควบคุมอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมต่ออุปกรณ์เพื่อตรวจจับหรือแสดงผลได้ตามต้องการ
พร้อมใส่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย Wi-Fi มาบนบอร์ดไม่จำเป็นต้องต่อเพิ่มเติมเอง
ยกตัวอย่างเช่น Electric Imps, Spark Core, Arduino Yun, Intel Edison, Wireless Router ต่างๆ
โมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์สื่อสารไร้สาย Internet of Things
โมดูลบางตัวที่มีคุณสมบัติสามารถเป็นอุปกรณ์
Internet of Things ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมดูล ESP8266 ซึ่งราคาไม่สูง
สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แม้ปัจจุบันยังมีอยู่ไม่มากและเข้าถึงยาก
ESP8266 สามารถทำงานด้วยตัวเอง (Standalone) เนื่องจากภายในมีไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่
ต้องพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้ทำงานตามความต้องการ กลุ่มนักพัฒนาที่สนใจได้แบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไว้
บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ + โมดูลสื่อสารไร้สาย ทำงานร่วมกันเป็น Internet of Things
การทำโปรเจคแบบนี้เป็นการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคย
ร่วมกับโมดูสื่อสารไร้สายที่มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ แล้วเขียนแอพพลิเคชั่นให้ทำงานตามที่ต้องการ
โดยเราต้องจับคู่เชื่อมต่อบอร์ดกับโมดูลต่างๆเอง ยกตัวอย่างเช่น
การใช้ Arduino ร่วมกับ Wi-Fi Shield หรือ UART Wi-Fi
Raspberry Pi กับ USB Wi-Fi Dongle เพียงเท่านี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้
ระบบต่างๆที่ iMakeProject ได้พัฒนาอาจจะเป็นไอเดียให้ท่านอยากนำเสนอโครงงานโปรเจค
- ระบบบัตรเข้างาน RFID
- ระบบที่จอดรถ นับจำนวนรถ
- ระบบกล้องรักษาความปลอดภัย แจ้งเตือนภัย
- ระบบฟาร์มอัฉจริยะ ควบคุมดูแลผ่านแอพพลิเคชั่น
- ระบบเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื่น
- ระบบถังขยะอัจฉริยะ
- ระบบดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุ
- ระบบป้องกันการโจรกรรมและติดตาม
- ระบบแสดงสถานะ และแจ้งเตือนในสำนักงาน
- ระบบ Smart Watch นำทาง
Internet of Things สามารถประยุกต์นำมาทำเป็นโครงงาน โปรเจคได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
ระบบ Aquaponic โปรเจคจัดการบริหารการเกษตร ที่ต้องมีระบบควบคุมหลัก
ระบบเซนเซอร์วัดสถานะต่างๆ และมีระบบสั่งการต่างๆผ่านอุปกรณ์อื่นๆ
ซึ่งระบบแบบนี้ สามารถทำให้การเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับ
การปลูกพืชผักสมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ เป็นการพัฒนาขั้นสูงของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก
ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน
เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกในอนาคต
โดยยึดถือหลักการที่แน่นอน ดังนี้คือ
- ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง
สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม
ของเสียจากมูลของปลาสามารถนำมาเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้
- การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture)
ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน
- น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำและ
- เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป
ผลประโยชน์ที่ได้และข้อดีต่างๆ เช่น
- ลดการใช้น้ำ ลดน้ำเสีย ของการเลี้ยงปลา และปลูกผัก
- ใช้เนื้อที่น้อย ให้อัตราผลผลิตต่อพื้นที่ดีกว่า เพราะพืชได้น้ำและสารอาหารตลอดเวลา
เลี้ยงปลาได้หนาแน่น เพราะมีการบำบัดน้ำตลอดเวลา
- สามารถปลูกใกล้แหล่งบริโภค หรือ นำมาบริโภคสดได้เลย
- ทำให้เกิดการประหยัดขึ้น ทำให้ไม่ต้องซื้อ
- ปราศจากการใช้สารเคมี
- พืชไม่ติดโรคจากแมลง หรือจากสถาวะภายนอก เพราะอยู่ในพื้นที่ควบคุม
การทำโครงงานโปรเจค Internet of Things ต้องมีอะไรบ้าง
Internet of Things หรือ IOT คือ เทคโนโลยีที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่บน คอมพิวเตอร์
โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเครื่องมือต่างๆ
ที่ทำให้สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ซึ่งในอนาคตของผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ
ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน
การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องรดน้ำต้นไม้ หรือแปลงเกษตรของตนเอง
แต่ยังจำเป็นต้องมีพัฒนาก่อน ตั้งแต่ระบบการประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ ถึงจะเกิดเป็น IoT
ยกตัวอย่าง เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์
ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถสั่งงานที่เราต้องการได้นั้น
จึงจำเป็นต้องมีนักพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบสั่งการหรือโค้ดโปรแกรม
เพื่อใช้สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจาก Internet of Things มีพื้นฐานอยู่บนระบบฝังตัว
หรือสมองกลฝังตัว (embedded system) คือ ระบบประมวลผล
ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
Internet of Things เป็นอย่างไรบ้าง สามารถนำมาทำโครงงาน โปรเจคได้อย่างไร…
บทความ
Tags: arduino, iot, mqtt, ทำproject, ทำโปรเจค, รับทำpaper, รับทำproject, รับทำปริญญานิพนธ์, รับทำรูปเล่ม, รับทำรูปเล่มproject, รับทำรูปเล่มโปรเจค, รับทำเอกสาร, รับทำโปรเจค, รูปเล่มวิทยานิพนธ์, อาดูโน่, เขียนแอพ