Arduino vs Raspberry Pi ต่างกันอย่างไร

ในการทำโครงงานหรือโปรเจคนั้น หากเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน
จะทำให้งานลด

 

ARDUINO

arduino-leo

ARDUINO (อาดูอิโน่, อาดูโน่, อาดุยโน) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ใช้ชิพตระกูล AVR
โดยผู้พัฒนาบอร์ดเป็น Open Source คือ มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software
นำโดย Massimo Banzi และ David Cuartielles ก็ได้สร้างโปรเจคที่เรียกว่า Arduino project
ขึ้นมานั่นเอง โดยที่ Arduino project ได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆของ
Wiring project ซึ่งนั่นทำให้ราคาของบอร์ดถูกลง และเหมาะสมกับนักศึกษามากขึ้น

ดังนั้น Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา
นักศึกษาและผู้ที่อยากศึกษาอีเล็กทรอนิกส์ และนำไปใช้งานได้จริง
สามารถทำงานกับระบบ IoT เป็นโปรเจคและโครงงานได้
ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด
หรือเขียนโปรแกรมเพิ่มต่อได้อีกด้วย

จุดเด่น

  • เรียนรู้ง่าย ในการเชื่อมต่อวงจร
  • เขียนโปรแกรมง่าย สำหรับงานที่ไม่ซับซ้อน เพราะมีโค้ดหลายหลากให้เลือกใช้
  • เขียนเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเซนเซอร์ ได้หลากหลาย
  • ราคาถูก

ข้อเสีย

  • ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการอัพเดทโปรแกรมเข้าไปที่ตัวคอนโทรเลอร์
  • ไม่มีระบบปฏิบัติการ
  • เก็บข้อมูลในตัวได้เพียงเล็กน้อย < 1MB
  • ต้องต่อโมดูลเพิ่มหากต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและ IoT

 

Raspberry Pi (ราสเบอร์รี่พาย)

rasp-pi

Raspberry Pi ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีขนาดเพียงเท่ากับบัตรเครดิต
ใกล้เคียงกับ Arduino มีราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปปกติ
เกิดขึ้นในปี 2549 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
โดยผู้สร้างทั้งสี่คนคือ อีเบน อัพตั้น, ร๊อบ มูลลิ่นส์, แจ๊ค แลง และ อลัน มายครอฟท์
มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ ราสเบอร์รี่พายเป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยาที่ใครๆก็ครอบครองได้

สามารถศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้ทันที
การที่ราสเบอร์รี่พายเป็นบอร์ดวงจรรวมที่เปลือยเปล่า ทำให้เด็ก ๆ
ได้เห็นชิ้นส่วนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มาในกล่องได้มากขึ้น

โดยปกติราคาไม่เกิน 2000 บาท เท่านั้น สามารถทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง

เราสามารถต่อ ราสเบอร์รี่พายนี้เข้ากับจอคอมพิวเตอร์หรือจอทีวีที่รองรับ HDMI
หากไม่มีสามารถต่อสัญญาณวิดีโอปกติ (เส้นสีเหลือง) ได้เช่นกัน โดยความละเอียดอาจจะต่ำกว่า

นอกจากต่อจอแสดงผลแล้ว Raspberry Pi สามารถต่ออุปกรณ์รับข้อมูล เช่น
เมาส์และคีย์บอร์ดผ่าน USB port ได้ปกติ

ข้อดี

  • ติดตั้งระบบปฏิบัติการได้หลายหลาก
  • สามารถใช้เป็นคอมพิวเตอร์ได้ ต่อจอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ใช้งานได้ทันที
  • สามารถต่ออุปกรณ์ผ่าน USB ได้หลายหลาก
  • เชื่อมต่อ Internet และเป็นอุปกรณ์ IoT ได้
  • สามารถเก็บข้อมูลได้ผ่านทาง Memory Card

ข้อเสีย

  • ไม่ถือว่าเร็วนักเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์
  • ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมในการใช้งาน
  • มีข้อจำกัดอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเซนเซอร์
  • ราคาไม่ถูก

 

สรุปโดยรวม

เลือก Arduino

  • ใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์โมดูลหลายหลาก
  • มีการใช้งานเซนเซอร์แบบอานาล็อก (analog)
  • ไม่ต้องการมีแก้ไขโปรแกรม แค่ให้ใช้งานตามที่ตั้งไว้เท่านั้น
  • โปรเจคงานไม่ใหญ่มาก
  • ไม่มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก

ตัวอย่างโครงงานโปรเจค เช่น ระบบที่จอดรถ, ระบบดูแลตู้ปลา

เลือก Raspberry Pi

  • ต้องการคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
  • ต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ต้องการแก้ไขและทดสอบโปรแกรมได้ตลอดเวลา
  • ต้องการต่อจอภาพ
  • มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
  • มีการประมวลผลภาพจากกล้อง

 

ตัวอย่างโครงงานโปรเจค เช่น ระบบกล้องความปลอดภัยและแจ้งเตือน

 

 

By iMakeProject.North,       Comments  


การทำโครงงานโปรเจค Internet of Things มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อยอด
สร้างชิ้นงานเชื่อมต่อเข้ากับ Internet of Things โดยมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Internet ทั้งแบบมีสาย LAN และแบบไร้สาย (Wireless LAN หรือ Wi-Fi) ได้
แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

intel-edison

บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับ Internet of Things บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์กลุ่มนี้
ผู้ผลิตออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เราสามารถพัฒนาโปรแกรมลงในไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด
ควบคุมอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมต่ออุปกรณ์เพื่อตรวจจับหรือแสดงผลได้ตามต้องการ
พร้อมใส่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย Wi-Fi มาบนบอร์ดไม่จำเป็นต้องต่อเพิ่มเติมเอง
ยกตัวอย่างเช่น Electric Imps, Spark Core, Arduino Yun, Intel Edison, Wireless Router ต่างๆ

esp

โมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์สื่อสารไร้สาย Internet of Things
โมดูลบางตัวที่มีคุณสมบัติสามารถเป็นอุปกรณ์
Internet of Things ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมดูล ESP8266 ซึ่งราคาไม่สูง
สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แม้ปัจจุบันยังมีอยู่ไม่มากและเข้าถึงยาก
ESP8266 สามารถทำงานด้วยตัวเอง (Standalone) เนื่องจากภายในมีไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่
ต้องพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้ทำงานตามความต้องการ กลุ่มนักพัฒนาที่สนใจได้แบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไว้

arduino-wifi

บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ + โมดูลสื่อสารไร้สาย ทำงานร่วมกันเป็น Internet of Things
การทำโปรเจคแบบนี้เป็นการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคย
ร่วมกับโมดูสื่อสารไร้สายที่มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ แล้วเขียนแอพพลิเคชั่นให้ทำงานตามที่ต้องการ
โดยเราต้องจับคู่เชื่อมต่อบอร์ดกับโมดูลต่างๆเอง ยกตัวอย่างเช่น
การใช้ Arduino ร่วมกับ Wi-Fi Shield หรือ UART Wi-Fi
Raspberry Pi กับ USB Wi-Fi Dongle เพียงเท่านี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้

 

By iMakeProject.North,       Comments